-ตอนที่แล้ว คุยกันถึง การแพ้-ชนะ ส่งผลต่อความกล้า ความกลัว ที่เป็นผลสืบต่อเนื่องหลังการต่อสู้… คนชนะ จะ กร่าง คนแพ้จะ หงอ หรือ ขยาด … ในการศึกษาเดียวกัน ยังมีการศึกษา ถึงผลต่อ พฤติกรรมระหว่างเพศ ของ แมลงวันสีทองอีกด้วย เพราะ การต่อสู้ คือ การแย่งอาหาร และ แย่งความสามารถในการสืบเผ่าพันธุ์
-ในการศึกษา หลังจาก ที่มีการต่อสู้ ของ แมลงเพศผู้ 2 ตัว รู้ว่า ตัวไหน แพ้ – ชนะ จะมีการจับแยก กั้น พื้นที่ระหว่างทั้งสอง จากนั้น จัดให้แมลงทั้งแพ้ และ ชนะ และ ตัวที่ไม่เคยต่อสู้ มาอยู่ฟากหนึ่งของสนาม และ นำแมลงเพศเมีย อีกตัวหนึ่ง ไว้อีกฟากหนึ่ง โดยไม่มีอาหารอยู่ในสนาม จากนั้น เปิดฉากกั้นออก สังเกต พฤติกรรมของ แมลงทั้ง 3 ตัว นาน 10 นาที ดูว่า มี 1)พฤติกรรม เกี้ยวพาราสี ซึ่ง ได้แก่ การกางปีกออกข้างเดียว และ การไล่ตาม 2) พฤติกรรมผสมพันธุ์ คือ มีการจับคู่ และ งอช่องท้อง เพื่อ ผสมพันธุ์ เปรียบเทียบว่า ผู้แพ้ หรือ ผู้ชนะ แสดงพฤติกรรมใด้ก่อน และ มีดัชนีการเกี้ยวพา (เวลาที่มีพฤติกรรมเกี้ยวพา ต่อ เวลาทั้งหมด) รวมทั้ง ระยะเวลา ที่ทำการผสมพันธุ์ว่า นานเพียงใด … พบว่า ผู้ชนะ จะมีการเกี้ยวพา และ การผสมพันธุ์ ก่อน มากกว่า ผู้แพ้ และ มี ดัชนีการเกี้ยวพา ที่สูงกว่า แมลงที่เป็นผู้แพ้ อีกทั้ง ใช้ระยะเวลาแสดงพฤติกรรมในการผสมพันธุ์ มากกว่า และ ในการศึกษานี้ มีส่วนหนึ่งของผู้แพ้ ลังเล และ ไม่เข้าหา หรือพยายามผสมพันธุ์กับแมลงเพศเมียเลย เมื่อเวลาผ่านไป 60 นาที (ไม่ได้เกิดทันที หลังแพ้ชนะ)
-ศึกษาดูพฤติกรรม แมลงตัวผู้ ของผู้แพ้ และ ผู้ชนะ(หลังการต่อสู้) ต่อ แมลงเพศตรงข้าม และ เพศเดียวกัน โดยการนำ ร่างของแมลง เพศเมีย และ เพศผู้ ที่ถูกตัดส่วนหัวออกเพื่อไม่ให้มีปฏิสัมพัทธ์กับแมลงที่กำลังศึกษา โดยวางร่างไว้ข้างๆ อาหาร พบว่า ผู้ชนะ และ ผู้แพ้ ส่วนใหญ่ จะวนเวียน อยู่ กับ ร่างของแมลงเพศเมีย มากกว่า โดยผู้ชนะ แทบจะไม่ได้ไปวนเวียน ที่ร่างของ แมลงเพศผู้เลย ขณะที่ ผู้แพ้ จะไป วนเวียน อยู่กับ ร่างของแมลงเพศผู้บ่อยกว่า
-ในการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อดูว่า แมลงเพศตรงข้าม (เพศเมีย) จะมีความสนใจต่อ ผู้แพ้ และ ผู้ชนะ ต่างกันไหม (โดยการนำ ร่างของแมลง ผู้ชนะ และ ผู้แพ้ ที่ถูกตัดส่วนหัวออกเพื่อไม่ให้มีปฏิสัมพัทธ์ วางไว้ข้างๆ อาหาร) และ ปล่อยแมลงเพศเมียเข้าไปในสนาม พบว่า แมลงเพศเมีย จะวนเวียน ใช้เวลากับ ทั้งร่างของแมลงผู้ชนะ และ ผู้แพ้ แต่ จะใช้เวลาอยู่กับ ผู้แพ้มากกว่าเล็กน้อย … เรื่องนี้ มีความพยายามอธิบายว่า ในตัวผู้แพ้ อาจจะมีสารเคมี หรือ ส่งสัญญาณบางอย่าง ที่ แมลงเพศเมีย อาจจะสามารถสัมผัสได้ ว่า ตนเอง จะเป็นผู้ที่เหนือกว่า และ เป็นฝ่ายควบคุม เป็นใหญ่กว่า เพศผู้ ก็เป็นได้
หมายเหตุ ในรูป ลูกศรสีเขียว แสดงความเด่นของ ผู้ชนะ ขณะที่ ลูกศรสีส้ม แสดงความต่างที่ชัดเจนของ ผู้แพ้
-ข้อมูลทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมระหว่างเพศ มีผลกระทบจากการ แพ้-ชนะ พอสมควร โดย ผู้ชนะ มักจะมีลักษณะของการรุก และ หาคู่ เกี้ยวพาราศี รวมถึง ผสมพันธุ์ ที่มากกว่า บ่อยกว่า เร็วกว่า ผู้แพ้ ขณะเดียวกัน ผู้แพ้ มีแนวโน้มที่จะ เข้าหา แมลงเพศเดียวกันเพิ่มขึ้น แต่ จะได้รับความสนใจจากแมลงเพศเมีย มากกว่า ด้วยเช่นเดียวกันครับ
-ทั้งหมดที่เล่ามา เป็น พฤติกรรม ที่เกิดตาม สันชาตญาณดิบๆ ที่ยังไม่ถูกปรุงแต่ง แต่ในคน อาจจะมีการปรุงแต่งที่ซับซ้อนกว่านี้ มากนัก โดยมีจุดเริ่มต้น ตามธรรมชาติ แบบที่เราพบในการทดลอง … ดังนั้น การเกิดการแพ้ ชนะ ตั้งแต่ในวัยเด็ก อาจจะส่งผล กระทบ ในระยะยาว อย่าง ที่เราคิดไม่ถึง ก็ได้ครับ การแข็งขัน ไม่ว่าจะเป็นการสอบแข่งขัน เข้าเรียน อาจจะเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง ทางสังคม ในระยะยาว ก็ได้ครับ
คำอธิบาย รายละเอียด การศึกษา:
*แมลงวันสีทอง หรือ Drosophila melanogaster ซึ่งมีลักษณะ DNA และ ระบบประสาท คล้ายกับ มนุษย์ และ เลี้ยงง่าย วงจรชีวิต เพียง 14 วัน สามารถเพาะพันธุ์ง่ายออกไขครั้งละ 400 ฟอง
**ก่อนจะเข้าสู่สนามต่อสู้ 2 วัน จะมีการแต้มสีที่หลังเพื่อแยกแยะและใช้ติดตาม แมลงแต่ละตัว จากนั้นนำแมลง ใส่ไว้ในเวทีประลองที่แยกฝั่ง โดยที่มีฉากกั้นไม่ให้มองเห็นกัน และ มีอาหารอยู่ตรงกลางเวที เมื่อให้แมลงปรับตัวเข้ากับสถานที่ สักพัก จะเปิดที่กั้นออก ให้แมลงทั้ง 2 ตัว สามารถเข้าถึงอาหาร และ อยู่ในเวทีเดียวกัน
อ้างอิง : Prunier A, Trannoy S (2024) Learning from fights: Males’ social dominance status impact reproductive success in Drosophila melanogaster. PLoS ONE 19(3): e0299839.