แพ้-ชนะ ส่งผลต่อ ความกล้า หรือ กลัว

-ในชีวิตจริง เรามีการต่อสู้ เพื่อการอยู่รอด การได้มาซึ่ง อาหาร และ สืบเผ่าพันธุ์ ซึ่ง พฤติกรรมส่วนนี้ มีในสัตว์ หลายประเภท รวมกถึงมนุษย์ และทางการแพทย์ทราบว่า เป็น พฤติกรรมที่ควบคุมโดยสมองส่วนกลาง (diencephalon) ซึ่ง ควบคุม สันชาตญาณ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามวิวัฒนาการ เป็นส่วนที่ความนึกคิดของเรายังไม่ได้เข้าไปควบคุม หรือ เรียกกันว่า สันชาตญาณดิบ

-ซึ่งในการต่อสู้ จะมี การแพ้-ชนะ เกิดขึ้น นักวิทยาศาสตร์ อยากรู้ว่า ก่อนที่ระบบความนึกคิดและเหตุผลของสมองส่วนหน้าจะเข้าไปควบคุม หรือ overrule การแพ้-ชนะ จะส่งผลต่อ พฤติกรรม ตามสันชาตญาณ ของ สัตว์อย่างไร จะมีผลต่อเนื่องถึงพฤติกรรม ภายหลังการต่อสู้ หรือไม่ จึงเลือกทดลองในแมลงวันสีทอง* หรือ Drosophila melanogaster ซึ่งมีลักษณะ DNA และ ระบบประสาท คล้ายกับ มนุษย์ มาเป็นสัตว์ทดลอง

-ในการศึกษา จะเลี้ยงแมลงตัวผู้แต่ละตัวแยกจากกันในหลอดทดลอง และ นำเข้าสู่สนามต่อสู้ **  จะเปิดให้มีเวลา สู้กัน 3 ยก ยกละ 10 นาที และ จากนั้นจะกั้นฉาก แยกแมลงออกจากกัน ใช้กล้องบันทึก พฤติกรรม ของแมลง..  ธรรมชาติของแมลงที่ทำการต่อสู้กัน จะ มีท่าทาง เฉพาะ หลายอย่าง และ หนึ่งในนั้น คือการ ขู่ (Lunge) และ อาจจะเลยไปถึง จิก กัด กัน มีสัญญาณ การยอมแพ้ ถอยหนี และ หงายท้อง … ในการศึกษา ดูว่า แมลงตัวไหน ถอยไม่กล้าเข้าหาอาหารเมื่ออีกฝ่ายทำท่า ขู่ จำนวน 3 ครั้ง ถือเป็น ผู้แพ้

-จากนั้น แยกแมลง ออกมาเดี่ยวๆ ในสนามที่เปิด โดยไม่มีคู่ต่อสู้อยู่แล้ว สังเกต พฤติกรรม การเข้าหาอาหาร และ การเคลื่อนที่เข้าไปในเขตแดนของคู่ต่อสู้ พบว่า แมลง ที่เป็นผู้ชนะ จะเข้าหาอาหารเร็วกว่า บ่อยกว่า และใช้เวลาอยู่ที่ถาดอาหารนานกว่า ขณะที่แมลงที่เป็นผู้แพ้ กว่าจะเข้าหาอาหาร จะรีรอนานกว่า และ เข้าหาถาดอาหารน้อยครั้งกว่า และ ใช้เวลาอยู่ที่ถาดอาหารสั้นกว่า … ลักษณะนี้ เหมือนกับว่า ผู้แพ้ เกร็งๆ แหยงๆ ยังมีความรู้สึกไม่อยากไปที่ถาดอาหาร เพราะมีความกลัวว่า แมลงคู่ค่อสู้จะโผล่มา … และ เมื่อศึกษาจำนวนครั้ง ที่ข้ามแดนเข้าไปในแดนของคู่ต่อสู้ที่ 10 นาที และ 60 นาทีให้หลัง พบว่า แมลงที่แพ้ ก็วนเวียนเข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ พอๆกัน ขณะที่ แมลงที่เป็นผู้ชนะ ในระยะ 10 นาทีแรก จะวนเวียนเข้าไปในแดนของคู่ค่อสู้บ่อยกว่ามาก เหมือนกับไปสำรวจว่า มีอีกฝ่ายมาคอยแย่งอาหารอยู่หรือเปล่า โดยปราศจากความเกรงกลัว และ เมื่อเวลาผ่านไป 60 นาที พอรู้ว่า ไม่มีอีกฝ่ายอยู่ ก็เลิกสนใจ จำนวนครั้งที่เข้าไปในแดนคู่ต่อสู้น้อยลงอย่างมาก ลักษณะ ที่ผู้ชนะข้ามเขตไปในแดนของคู่ต่อสู้ บ่อยกว่า แสดงถึงความไม่เกรงกลัว (กร่าง) ที่เกิดขึ้นหลังจากการเป็นผู้ชนะ

-ถ้าสรุปผลจากการทดลองดังกล่าว จะเห็น ว่า การแพ้-ชนะ แม้เพียงเล็กน้อย ก็ส่งผล ในสมองส่วนที่ตอบสนองในลักษณะของสัญชาตญาณ มีการเปลี่ยนแปลง มีภาพจำของ ความกล้า และ ความกลัว ติดตัวไป …

-ในเด็กๆ หรือ แม้แต่ในผู้ใหญ่ การสร้างสถานการณ์ ให้มีการขนะ เล็กๆ น้อยๆ จึงมีความสำคัญ ต่อความกล้า หรือ ความกลัว ถ้าหาก ปล่อยให้มีสภาพผู้แพ้ บ่อยๆ จะเกิดผลลบ หรือ ความไม่กล้าเกิดขึ้น และจำกัดตัวเองอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ไม่กล้าออกไปสำรวจ หรือ หาอาหาร หรือ ต้องรีรอนานกว่าจะยอมไป

 

คำอธิบาย รายละเอียด การศึกษา:

*แมลงวันสีทอง หรือ Drosophila melanogaster ซึ่งมีลักษณะ DNA และ ระบบประสาท คล้ายกับ มนุษย์ และ เลี้ยงง่าย วงจรชีวิต เพียง 14 วัน สามารถเพาะพันธุ์ง่ายออกไขครั้งละ 400 ฟอง

**ก่อนจะเข้าสู่สนามต่อสู้ 2 วัน จะมีการแต้มสีที่หลังเพื่อแยกแยะและใช้ติดตาม แมลงแต่ละตัว จากนั้นนำแมลง ใส่ไว้ในเวทีประลองที่แยกฝั่ง โดยที่มีฉากกั้นไม่ให้มองเห็นกัน และ มีอาหารอยู่ตรงกลางเวที เมื่อให้แมลงปรับตัวเข้ากับสถานที่ สักพัก จะเปิดที่กั้นออก ให้แมลงทั้ง 2 ตัว สามารถเข้าถึงอาหาร และ อยู่ในเวทีเดียวกัน

อ้างอิง : Prunier A, Trannoy S (2024) Learning from fights: Males’ social dominance status impact reproductive success in Drosophila melanogaster. PLoS ONE 19(3): e0299839.


แพ้-ชนะ ส่งผลต่อ ความกล้า หรือ กลัว