–โรคปวดหลัง หรือ โรคปวดหลังเรื้อรัง เป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อย ทั่งคนที่ทำงานหนัก และ คนที่นั่งทำงาน หรือ ขับรถนานๆ … หลายคนนั่งพัก นอนพัก ก็ดีขึ้น บางคนต้องกินยา บางคนต้องไปนวด หรือทำกายภาพบำบัด … ลองมาดูว่า เกิดอะไรขึ้นกับกล้ามเนื้อหลังของเรา ในคนที่ปวดหลัง
-มีการศึกษา ในอาสาสมัคร ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังเกิน 3 เดือน จำนวน 11 ราย และ คนปกติที่สุขภาพแข็งแรงจำนวน 11 ราย โดยให้ออกกำลังโดย การทดสอบออกแรงเกร็งหลังตามวิธีของ Sorensen test (ดังรูป) ให้มีการเกร็งตัวนาน 5 นาทีแล้วทำการวัด อัตราการใช้ออกซิเจน ผ่านการวัดทางลมหายใจ , วัดอัตราการไหลเวียนของเลือด โดยใช้เครื่องมือวัด อินฟาเรด ผ่านผิวหนัง ที่ติดไว้ที่กล้ามเนื้อหลัง , วัดแรงตึงของกล้ามเนื้อ , มุมยกหลังได้สูงแค่ไหน และ สอบถามคะแนนความเจ็บปวด
-จากผลการศึกษา พบว่า ในกลุ่มที่ปวดหลังเรื้อรัง เกร็งตัว(เกร็งหลัง)ได้น้อยกว่า คนปกติมากๆ ขณะเดียวกัน อาการปวดหลังการออกกำลังกายทดสอบ ก็ปวดเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ขณะที่คนปกติ ไม่ได้มีอาการปวดเพิ่มขึ้น … และ เมื่อวัดค่าออกซิเจนจากการหายใจ พบว่า มีการใช้ออกซิเจนไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อวัดค่า การไหลเวียนเลือดบริเวณหลัง พบว่า อัตราความสามารถการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหลัง ในกลุ่มที่ปวดหลังเรื้อรัง มีความสามารถในการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหลัง ต่ำกว่าคนปกติตั้งแต่เริ่มต้น(ในขณะพัก) ประมาณ 5% และ มีการใช้ออกซิเจน ลดลงไปอีกหลังออกแรง มีความแตกต่างกันสูงถึง 7% … ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ปัญหาของคนที่ปวดหลังเรื้อรัง ทั้งอาการปวดและความสามารถในการเกร็งกล้ามเนื้อหลัง มีส่วนที่เกิดจาก การไหลเวียนเลือด และ การใช้ ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหลัง น้อยกว่าคนปกติ อย่างชัดเจน และ พบว่า มีความสัมพันธ์ โดยตรงระหว่างความสามารถในการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหลัง กับ ระดับความเจ็บปวดที่อาสาสมัครรู้สึกได้ คือ ใช้ออกซิเจนได้น้อย จะปวดมาก
-บทความหน้า มาดูว่า เราจะสามารถ เพิ่มเลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหลัง เพื่อให้มีออกซิเจนมาเลี้ยงกล้ามเนื้อได้มากขึ้นหรือไม่ อย่างไร