-เวลาไปกินอาหารตามร้าน เราจะพบเห็น คนเติมเครื่องปรุง ทั้ง น้ำปลา น้ำตาล กันเป็นประจำ จน ทำให้เราเคยชิน หรือ คุ้นลิ้น เรียกว่า ติดหวาน ติดเค็ม จนเรารู้สึกว่า เป็นเรื่องปกติ … มีคำกล่าวกันว่า กินเค็มเสี่ยงโรคไต … วันนี้ นำข้อมูลการศึกษาทางการแพทย์เกี่ยวกับเรื่องนี้ มาเล่าสู่กันฟังครับ
-การศึกษาข้อมูลสุขภาพ ในประชากร กลุ่มใหญ่ อายุ 37-73 ปี ที่อาศัยใน สหราชอาณาจักร อังกฤษ สก็อตแลนด์ และ เวลล์ เริ่มต้นรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่ปี คศ, 2006 ถึง 2010 เริ่มต้นจำนวนกว่า 5 แสนคน ติดตามผู้ป่วย จนถึงปี 2022-2023 มีการติดตามมัธยฐานที่ 11.8 ปี ในระหว่างนี้ มีผู้ป่วยที่พบ โรคไต (eGFR < 60) เพิ่มจำนวนขึ้น 22,031 ราย พบว่า ตอนเริ่มต้น ผู้ป่วยที่มีค่าไต eGFR ปกติ (eGFR > 90) มีการพัฒนาจนเป็น โรคไต ทั้งสิ้น 8,672 คน จากทั้งหมด 309,126 คน คิดเป็น 2.81% ขณะที่ ผู้ป่วยที่เริ่มมีค่าไตผิดปกติ (eGFR 60 – 90) ตอนเริ่มต้น มีการพัฒนาจนเป็นโรคไต ทั้งสิ้น 13,359 คน จากทั้งหมด 156,162 คน คิดเป็น 8.55%… ในการศึกษานี้ ได้สอบถาม ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต ในช่วงเวลาดังกล่าว สอบถามถึง ความถี่ ในการเติม เกลือ หรือ เติม เค็ม เวลากินอาหาร ว่า ผู้ป่วยไม่เคยเติมเค็ม เติมเค็มนานๆครั้ง บ่อยๆ หรือ เติมเค็มเป็นประจำ ร่วมกับการเก็บข้อมูล ปัจจัยอื่นๆ … โดยในการศึกษา มีการเก็บผลเลือด และ โรคต่างๆ … นำข้อมูล ของค่าเลือด ที่บ่งบอกการทำงานของ ไต eGFR เมื่อเริ่มการศึกษา ตั้งแต่ ปี 2006-2010 มาเปรียบเทียบ
– ถึงแม้ว่า โรคไตจะเกิดจากหลายสาเหตุก็ตาม แต่ จาก ข้อมูลผลการศึกษา พบว่า คนที่เป็นโรคไต มีการเติมเค็มในอาหาร มากกว่า คน ที่ไม่ได้เติม 1.1 ถึง 1.2 เท่า ตามความถี่ของการเติมเค็ม คนที่เติมเค็มเป็นประจำ มีความเสี่ยงในการเป็นโรคไต สูงกว่า คนที่ไม่ได้เติมเค็ม อย่างมี นัยสำคัญ … ผลการศึกษา อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับ โรคไต คือ คนที่เติมเค็ม มีความเสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวใจ และ หลอดเลือด เพิ่มขึ้นด้วย ในกลุ่มที่ป่วยเป็นโรคไต ครับ
-ก่อนเติมเครื่องปรุง ทุกครั้ง คิดถึงโรคไตด้วยนะครับ