สาเหตุของการเกิดตะคริว

 -ส่วนประกอบเล็กที่สุด ที่ทำให้กล้ามเนื้อขยับได้คือ sarcomere ซึ่งมี การเรียงตัวเป็นชั้น เหมือน บานเลื่อน ที่จะขยับเข้าออก เวลา จะออกแรง กล้ามเนื้อบริเวณ A band จะเคลื่อนตัวเข้าหากัน (actin ดึงเข้าหา myosin) ทำให้กล้ามเนื้อหดสั้นเข้า  ระยะ I band จะสั้นลง…. เมื่อกล้ามเนื้อได้รับสัญญาณจากระบบประสาท แคลเซียม ที่เก็บสะสมอยู่ จะถูกปล่อยออกมา ให้จับกับ ส่วนปลายของ actin และ myosin ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวเข้าหากัน และ เมื่อสิ้นสุดสัญญาณประสาท แคลเซียมจะถูกดูดกลับเขาไปเก็บที่ในกล้ามเนื้อ และกล้ามเนื้อจึงคลายตัวออก… การดูดแคลเซียม กลับต้องใช้พลังงาน กลูโคส (glucose) ผ่าน ATP [น้ำตาลส่วนที่สำรองเก็บไว้ในกล้ามเนื้อ เรียกว่า ไกลโคเจน (glycogen)]… หากไม่มีพลังงาน แคลเซียมจะค้างอยู่ ทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถคลายตัวออกจากกันได้ จึงเกิดเป็นตะคริว

-การเกิดตะคริว เกิดได้จากทั้งปัจจัยบริเวณกล้ามเนื้อเอง และ ปัจจัยที่มาจากระบบประสาทสั่งการ

-สาเหตุของตะคริวจากบริเวณกล้ามเนื้อ คือ 1) ภาวะที่กล้ามเนื้อขาดพลังงาน (หรือใช้พลังงานที่มีอยู่เดิมหมด) ทำให้ไม่สามารถดึงแคลเซียมกลับเข้าไปเก็บ กล้ามเนื้อจึงยังจับกันแน่น ไม่ยอมคลายตัว … ภาวะหมดแรง ใช้ไกลโคเจนจนหมดสต็อกในกล้ามเนื้อ เพราะใช้เกินกำลัง ในการเล่นกีฬาหรือออกกำลังมาก หรือนานเกินไป เช่น วิ่ง เล่นฟุตบอล ว่ายน้ำ ยกน้ำหนัก ฯลฯ 2) การไหลเวียนเลือดช้าลง ทำให้ ไม่มีพลังงานหรือน้ำตาล มาเพิ่ม และ นำของเสียออกไป เมื่อทิ้งไว้ต่อไป ก็จะเป็นตะคริว ได้แก่ ปลายเท้าเย็นเลือดมาเลี้ยงน้อยเพราะ อากาศเย็นเส้นเลือดหดตัว (เวลากลางคืน ไม่ได้ห่มผ้า หรือ พัดลมเป่าปลายเท้า) หรือ ในคนท้อง(ทารกกดเส้นเลือดดำในท้อง เลือดที่ขากลับข้าลง) ฯลฯ 3)แคลเซียมในเลือดต่ำ จะเป็นตะคริว เพราะ ทำให้ ไม่มีแคลเซียม ไปแลกที่กับ โซเดียมที่อยู่ในปลายประสาท (ที่กระตุ้นให้ดูดซึมแคลเซียมกลับ) แคลเซียมไม่ถูกดูดกลับกล้ามเนื้อก็ไม่คลายตัว และ เป็นตะคริว… แคลเซียมในเลือดต่ำไม่เกิดตามธรรมชาติ แต่พบได้ในคนที่เกิดภาวะ ตกใจและหายใจเร็วๆ ถี่ๆ ทำให้สารน้ำในเลือดไม่สมดุล แคลเซียมในเลือดลดลง เรียกว่า hyperventilation syndrome มีอาการตะคริว เกร็งจนมือจีบได้ กรณีนี้ เกิดในคนที่ตกใจกลัว หรือเครียดมากๆ และ ยิ่งตกใจ ก็ยิ่งหายใจเร็ว จึงเป็นตะคริวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆครับ

-ปัจจัยที่ทำให้เกิดตะคริว อีกกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ กล้ามเนื้อ คือ 4) ปัจจัยเกี่ยวกับระบบประสาท สัญญาณ จากสมองและไขสันหลัง ส่งสัญญาณมาที่กล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อหดตัว (นำแคลเซียมออกมา ทำให้กล้ามเนื้อจับตัวกัน) ซึ่ง เมื่อสิ้นสุดสัญญาณ จากระบบประสาท กล้ามเนื้อจะคลายตัวกลับมาที่เดิม ถ้าปลายประสาทถูกรบกวน ถูกกด ถูกทับ หรือ ถูกระคาย ทำให้ยังมีการส่งสัญญาณ มาเป็นระยะๆ จะมากหรือน้อย ก็ได้ เช่น เราเห็นเวลา ตากระตุก หรือ มือสั่น ซึ่ง การส่งสัญญาณมาเป็นระยะๆ จึงส่งสัญญาณมาซ้ำ คล้ายๆ คนขับรถถอยรถเข้าจอดที่ไม่ชำนาญ อาจจะ กระชาก ขับๆ หยุดๆ ประมาณนั้นครับ ตะคริวจาก ระบบประสาทสั่งการ มักจะมีอาการไม่รุนแรงเท่ากับ สาเหตุจากบริเวณกล้ามเนื้อเอง เนื่องจากการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหดตัวยังคงเป็นช่วงๆ แต่ หากสาเหตุการเกิดการระคายของระบบประสาทสั่งการเป็นอยู่นาน กล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ จะเกิดปัญหา แบบเดียวกับการที่กล้ามเนื้อใช้งานมากๆ และ นานๆ เลือดคั่ง บวม และทำให้เกิดตะคริวที่มีอาการปวดรุนแรงได้ แบบเดียวกับกลุ่มของ ตะคริวที่มีสาเหตุจากบริเวณกล้ามเนื้อเอง ตะคริวกลุ่มนี้ มักจะเป็นตะคริวที่เราไม่รู้จัก และ เกิดกับกล้ามเนื้อบางมัด ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก และ ซ่อนอยู่ลึกๆ ขณะเดียวกัน ก็มีความสำคัญมากในการกำกับมุม และ ทิศของการเคลื่อนไหว ซึ่งต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา

-การรักษา และ ป้องกันตะคริว จะต้องดำเนินการตามสาเหตุครับ ซึ่ง สาเหตุที่เราป้องกันได้ ก็มักจะเป็นสาเหตุในกลุ่มของ ในกล้ามเนื้อเอง เช่น ไม่ใช้กล้ามเนื้อจนเหนื่อยล้าเกินไป การรักษาความอบอุ่น ให้กับกล้ามเนื้อ ไม่ตกใจ หายใจเร็วและหอบ ฯลฯ


สาเหตุของการเกิดตะคริว