–หินปูนเข้าไปอยู่ในเส้นเลือดได้อย่างไร … แล้วถ้าหินปูนเกาะมากๆ เส้นเลือดตัน เลือดก็ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆไม่ได้ ถ้าเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือ ตัน ก็เป็นหัวใจขาดเลือดหรือโรคหัวใจ ตายได้เลย …ถ้าเส้นเลือดแดงใหญ่ ในท้องตัน หรือ แตก หรือ เส้นเลือดต้นขาตัน ก็จะไม่มีเลือดไปเลี้ยงขา ปวดขา ขาไม่มีแรง หรือ ปลายเท้าเน่าตายครับ
-มาดูกันว่า หินปูนเกาะเส้นเลือดได้อย่างไรครับ
–เส้นเลือดแดงของเรา ยืดหดตลอดเวลา เพราะ เวลาหัวใจบีบเลือด ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ตอนบีบ จะมีแรงดันสูง และ ตอนคลายตัว แรงดันจะอ่อนลง (ค่าความดันโลหิต ตัวบน systolic เป็นแรงดันตอนบีบ ตัวล่าง diastolic เป็นแรงดันตอนผ่อนลง) เส้นเลือด จึงต้อง รองรับแรงดันเลือดจากหัวใจให้ได้ เพื่อลำเลียงเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย … ด้วยคุณสมบัติ ที่ยืดหดได้ และ ต้องทำงานยืดหดตลอดเวลา เส้นเลือด จึงอาจจะเกิดอันตราย หรือ บาดเจ็บได้ … ซึ่งคนที่มีความดันโลหิตสูง เส้นเลือด ก็ถูกถ่างขยายมาก รับแรงมาก โอกาสบาดเจ็บก็มากขึ้น ดังนั้นคนที่ความดันโลหิตสูง จึงเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เส้นเลือดบาดเจ็บ
–เวลาเส้นเลือด บาดเจ็บ ร่างกาย จะมี ระบบการซ่อมแซมอย่างดี คือ เริ่มด้วยมีเกร็ดเลือดมาเกาะ และ ผนึกปิดผิวบริเวณที่ปริ ชั่วคราว จากนั้น รอให้เซลล์ผนังหลอดเลือด มาซ่อม ถ้าซ่อมได้ดี ผิวเส้นเลือด(ด้านใน) จะเรียบ กลับเป็นปกติ และผนึกที่ถูกสร้างปิดไว้ชั่วคราว จะหายไป … แต่ถ้า มีรอยปริ เยอะ หลายตำแหน่ง ซ่อมไม่ทัน หรือ เส้นเลือดอักเสบ ทำให้การซ่อมแซมเป็นไปได้ช้า คราบ (plaque) ที่ผนึกไว้ชั่วคราว จะยังคงอยู่ และมีไขมันในเส้นเลือด มาพอกเกาะทับให้หนาตัวขึ้น ไขมันที่มาเกาะ จะทำให้เส้นเลือดมีการอักเสบเพิ่มขึ้น ร่างกาย จึงต้องป้องกัน โดยการมีหินปูนมาพอก เกาะ ไปบน คราบ Plaque อีกทีเพื่อยังยั้งการอักเสบ เป็นการปิดซ่อมชั่วคราว … เมื่อมีการปิดซ่อมแบบนี้ แต่ซ่อมไม่ทัน คราบหินปูนที่ผนังเส้นเลือด ก็พอกตัวหนาขึ้นเรื่อยๆ ส่วนที่มาเก็บ ทำลายคราบส่วนเกินนี้ ก็ยังทำงานไม่ได้เพราะว่า ผนังเส้นเลือด ที่เสียหายยังซ่อมไม่เสร็จ เป็นวงจร ที่ทำให้ หินปูนเกาะที่เส้นเลือด เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆครับ
-เมื่อวิเคราะห์วงจรของคราบหินปูนที่เกาะเส้นเลือด จะพบว่า มี องค์ประกอบหลักคือ 1) เส้นเลือดได้รับบาดเจ็บ 2) การซ่อมเส้นเลือดแดง เป็นไปได้ช้า 3)ร่างกายพยายามซ่อมแซม โดยมี ไขมัน และ หินปูนมาเกาะ … จะเห็นว่า ปัญหา เกิดเพราะร่างกายพยายาม ซ่อมแซมตัวเอง แต่ ทำไม่ถูกวิธี หรือ สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยให้ซ่อมได้ตามปกติ จึงเกิดผลข้างเคียงจากการซ่อมแซมตามมา คือ หินปูนเกาะ(ผนัง)เส้นเลือด …
-วิธีที่จะไม่ให้ มีหินปูนเกาะเส้นเลือด คือ ป้องกันไม่ให้เส้นเลือดบาดเจ็บ (รักษาความดันโลหิตสูง) และ ให้กระบวนการซ่อมแซมเส้นเลือดเป็นปกติ (คุมเบาหวาน งดสูบบุหรี่ ลดไขมันในเลือด) และ ฉีดล้างท่อ(เส้นเลือด)บ่อยๆ ด้วยการออกกำลังกายแบบ แอโรบิค ครับ เพียงเท่านี้ ทุกคนก็จะมีเส้นเลือดที่ดี แข็งแรง ไม่มีหินปูนเกาะนะครับ