-หลายคนเวลาไปงานวัดเล่นเกมส์ ยิงปืน ปาเป้า โยนห่วง แล้วได้รางวัล ก็รู้สึกสนุก และ มักจะอยากได้โอกาส เพิ่มขึ้น ยิงได้หลายนัด มีลูกดอกหลายดอก หรือ แม้แต่ โยนห่วงได้หลายห่วง ยิ่ง ถ้ามีแถมให้ ยิ่งรู้สึกดีใช่ไหมครับ
–การมีโอกาสมากครั้งกว่า ย่อมแสดงถึงความได้เปรียบ และ หนึ่งในความรู้สึกที่กระทบกับ ความรู้สึกเป็นสุขของสมอง คือ ความได้เปรียบ เสียเปรียบ .. และ การการมีโอกาส มากขึ้น หรือ น้อยลง จะสะท้อน ถึงความรู้สึก ได้เปรียบเสียเปรียบ หรือ ความรู้ว่า ว่า ยุติธรรม หรือ เป็นธรรม ด้วยหรือไม่
-มีการศึกษา ในอาสาสมัคร 26 คน อายุ 18-23 ปี (เป็นหญิง 15 คน) โดย จะทอยลูกเต๋า แข่งกับ คู่แข่ง (ทางหน้าจอ คอมพิวเตอร์) โดยที่ อาสาสมัคร จะทอยลูกเต๋า ครั้งละ 1 ลูก 48 รอบ ครั้งละ 2 ลูก 48 รอบ และ ครั้งละ 3 ลูก 48 รอบ โดยที่คู่แข่ง จะทอยลูกเต๋า ครั้งละ 2 ลูก ทุกครั้ง … การนับ แพ้ ชนะ จะนับคะแนนสูงสุดของ ลูกเต๋า ลูกใดลูกหนึ่ง … ซึ่งหมายความว่า หาก ได้ทอยลูกเต๋า พร้อมกันหลายลูก ย่อมมีโอกาส ชนะมากกว่า การทอยเพียงลูกเดียว … โดยอาสาสมัคร จะได้เงินก้นถุง ในการศึกษา สำหรับ การแข่งขัน 30 หยวน เมื่อ ชนะ 1 ครั้ง จะได้เงินจากคู่แข่ง 0.5 หยวน พอจบการศึกษา จะได้เงิน ที่เล่นได้ไป บวกกับ เงินปลอบใจ อีก 15 หยวน
-จากกติกา ดังกล่าว จะเห็นว่า ถ้า อาสาสมัคร ทอยลูกเต๋า เพียงลูกเดียว จะรู้สึก เสียเปรียบ ถ้าทอย 2 ลูก ก็เสมอกัน ยุติธรรมดี แต่ถ้าได้ทอย 3 ลูก ขณะที่คู่แข่งได้ทอยเพียง 2 ลูก จะรู้สึกได้เปรียบ … ในการศึกษานี้ ในอาสาสมัคร ประเมิน ความรู้สึกว่า ได้เปรียบ หรือ เสียบเปรียบ และ ประเมิน ความรู้สึกพอใจ หรือ เป็นสุข จากการเล่น ดังแสดงใน แผนภูมิ ด้านซ้ายบน … ซึ่ง ในระหว่างการศึกษา จะติดเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง ไว้ตลอดเวลา และ บันทึก คลื่นไฟฟ้า สมอง ของอาสาสมัคร มาเปรียบเทียบ ทั้งในจังหวะ ที่ ทอย ลูกเต๋า แพ้ หรือ จังหวะที่ ชนะ ซึ่ง คลื่นไฟฟ้าสมอง นำมาคำนวณ ระดับความรู้สึกพอใจ หรือเป็นสุข reward positivity (RewP) ดัง แผนภูมิ ซ้าย ล่าง และ รูปสี ของสมองทาง ขวาล่างของภาพ (ถ้าสีเข้ม แสดงว่า รู้สึกเป็นสุขมาก)
-ในผลการศึกษา พบว่า อาสาสมัครถ้า ชนะ ก็จะรู้สึกดี แต่ถ้าแพ้ ก็รู้สึกไม่ดี…. ในอีกมุมหนึ่ง ในการแข่งขัน อาสาสมัครรู้สึกได้ถึงความได้เปรียบเสียเปรียบ เป็นเหมือน รู้สึกดี เมื่อได้เปรียบ และ รู้สึกไม่ดีมาก เมื่อเสียเปรียบ.. เป็นความรู้สึกลึกๆ ถึงความไม่ยุติธรรม ตั้งแต่ต้น … แต่มีจุดที่น่าสนใจจากผลของการศึกษา คือ ในกรณี ที่เสียเปรียบ แต่ กลับขนะ (ตอนที่ทอยลูกเต๋า เพียงลูกเดียว แต่คะแนนชนะ คู่แข่ง ที่มีโอกาสทอยลูกเต๋า 2 ลูก) ความรู้สึกตอนชนะ จด ดีมากเป็นพิเศษ มากกว่า ตอนที่ได้เปรียบแล้ว ชนะเสียอีก (ในการศึกษานี้ ตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้แพ้ชนะเท่าๆกัน จึงมีโอกาส ที่เสียเปรียบแล้วขนะ พอสมควร แต่ในชีวิตจริง คนเสียเปรียบ มีโอกาส ชนะน้อยกว่ามาก ดังนั้น ความรู้สึกดี ที่ชนะตอนเสียเปรียบ จะเกิดขึ้น ได้น้อยกว่า ปกติ ครับ)
-เรื่องนี้บอกให้เรารู้ว่า ถึงแม้การแข่งขัน หรือ การทำงาน จะยุติธรรม เหมือน การทอยลูกเต๋า ที่มีโอกาส ได้คะแนน 1-6 เท่าๆ กัน แต่ จำนวนครั้ง หรือ โอกาส ได้กระทำ(ทอยลูกเต๋าได้หลายลูก หรือ หลายครั้ง) ก็มีผลต่อความรู้สึกเช่นกัน การมีโอกาสหลายครั้ง หรือ การให้โอกาส หลายครั้ง ทำซ้ำ ทำใหม่ ได้ ส่งผลต่อความรู้สึกที่ดีของคนที่ได้รับโอกาส …. ดังนั้น ถ้า เป็นไปได้ การให้โอกาส ผู้อื่น ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน ย่อมเป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับคนอื่น แต่ทั้งนี้ เขาต้องตระหนักนะครับ ว่า การให้โอกาสนี้ เป็นการให้โอกาส ที่มีกติกา มีเหตุผล มีที่มาที่ไป ไม่ใช่ จะได้โอกาส แบบนี้เสมอไปครับ