-มีการศึกษา เด็กนักเรียน ชั้นประถม 1 และ ม 1 (grade 1 and 7) อายุเฉลี่ย 6.7 และ 12.7 ปี ในประเทศ ออสเตรเลีย จำนวน 1,735 และ 2,353 คน ทำการตรวจสายตาโดยละเอียด และ สอบถามกิจกรรมรายวันของเด็กนักเรียน ตลอดทั้งสัปดาห์ จากผู้ปกครอง เพื่อแจกแจงว่า มีกิจกรรมที่ใช้สายตาระยะ ใกล้ กลาง ไกล และ เป็นกิจกรรมในร่ม หรือ กลางแจ้ง เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ กับ ภาวะสายตาสั้น ในเด็ก… โดยกิจกรรมที่ใช้สายตาระยะใกล้ ได้แก่ การอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ วาดรูป ที่ใช้สายตาในระยะ น้อยกว่า 50 ซม ขณะที่ระยะกลาง ได้แก่ การดูทีวี เล่มวีดิโอเกมส์ เล่นคอมพิวเตอร์ ส่วนระยะไกล คือ ไม่ต้อง เพ่งสายตา เป็นการเล่นทั่วไป ส่วนระยะเวลาที่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง ใช้ค่าสัดส่วนเฉลี่ย น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวันจัดว่าน้อย มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน จัดเป็นกลุ่มที่มีกิจกรรมกลางแจ้งมาก
-ในผลการศึกษาพบว่า เด็กนักเรียน ที่มีสายตาสั้น ใน grade 1 มี 1.5% ขณะที่ grade 7 มี 12.52% นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กที่มีพ่อ แม่ สายตาสั้น มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น …. และในการศึกษานี้ พบว่ากลุ่มที่ ใช้เวลาส่วนใหญ่กับกิจกรรมในร่ม และใช้สายตาระยะใกล้ มีความเสี่ยงสูงสุด ถึง 2.5 เท่าของ กลุ่มที่ไม่ได้ใช้สายตาระยะใกล้และ มีกิจกรรมกลางแจ้งเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่กลุ่มที่ใช้สายตาระยะปานกลาง เช่นเล่นคอมพิวเตอร์ดูทีวี มีความเสี่ยงสายตาสั้นรองลงมา…. ในเด็กที่มี กิจกรรมกลางแจ้ง มาก โดยรวมจะมีความเสี่ยงน้อยลง
-ข้อมูลนี้ เป็น การศึกษาเชิงระบาดวิทยา ที่ยังไม่ได้อธิบายกลไกการเกิด แต่ พบว่า การใช้สายตา ในที่แสงสว่างน้อย โดยเฉพาะที่ต้องมีการเพ่งระยะใกล้ มีผล ต่อการเกิดสายตาสั้น ได้มากขึ้น
–