(886) March 13, 2025
–การผ่าตัดกระเพาะให้มีขนาดเล็กลงเพื่อลดความอ้วน อาจจะเยอะเกินไป ถึงแม้จะช่วยให้ลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมาก และ มีประโยชน์ ในคนที่น้ำหนักเกิน หรือ อ้วนมากๆ BMI มากกว่า 40 ซึ่งจัดเป็นภาวะอ้วนที่มีอันตราย หรือ morbid obesity … แต่การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ เป็นการผ่าตัดใหญ่ ที่ต้องวางยาสลบ มีความเสี่ยง และ เมื่อตัดกระเพาะไปแล้ว ตัดแล้วตัดเลย เนื้อกระเพาะไม่สามารถเพิ่มกลับมาได้ ดังนั้น หากตัดเยอะเกินไป ก็แก้ไขไม่ได้แล้ว
-แพทย์จึงมีแนวคิด ที่จะทำการลดน้ำหนักด้วยหลักการเดียวกับการตัดกระเพาะอาหาร คือ ทำให้ มีเนื้อที่ในกระเพาะอาหารน้อยลง กินแล้ว อิ่มเร็วขึ้น โดยการ ส่องกล้อง และ ใส่ลูกโป่ง(เป็น ซิลิโคน คล้ายที่ใช้เสริมเต้านม) เข้าไปในกระเพาะอาหาร … ตอนใส่เข้าไป เป็นลูกโป่ง แฟบๆ จากนั้น เติมน้ำ เข้าไป และ ปล่อยลูกโป่งทิ้งไว้ เมื่อลดน้ำหนักได้จนเป็นที่พอใจ ก็ ส่องกล้องเข้าไป และ คีบลูกโป่งนี้ออก … ซึ่งวิธีการแบบนี้ ก็ไม่ใช่เป็นการผ่าตัดใหญ่ และ ไม่ต้องตัดเนื้อกระเพาะออก ลดความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้
-วิธีการใส่ลูกโป่งเข้าไปในกระเพาะอาหาร มีผล ในการลดน้ำหนักได้ ประมาณ 10 กก ถึงแม้จะน้อยกว่า การตัดกระเพาะอาหาร แต่ก็อันตรายน้อยกว่า และ อาจจะสามารถนำมาใช้กับ ผู้ที่อ้วน ไม่มากนัก เช่น BMI 30-35 ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะอ้วนเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
-อย่างไรก็ดี การใส่ลูกโป่ง ก็พบภาวะแทรกซ้อนได้ ในการทบทวนรายงาน ผู้ป่วยเกือบ 1400 ราย พบ ภาวะแทรกซ้อนรุ่นแรง คือ กระเพาะทะลุ และจำต้องนำลูกโป่งออก เพียง 2 ราย แต่ก็พบอาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง รู้สึกเหมือนมีน้ำกลิ้งไปมาในช่องท้อง ฯลฯ
-เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการลดความอ้วน และ เมื่อน้ำหนักลดลง ความรู้สึกอิ่ม ก็จะกลับมา เพราะว่า กรณีที่ไขมันในร่างกายเยอะมากจะ เกิดภาวะที่กินแล้ว ไม่รู้จักอิ่ม (ดื้อต่อ leptin สารรู้สึกอิ่ม) ที่พบในคนอ้วนครับ