-เมื่อก่อน เรา บางที ก็ฝัน แล้ว จำ ได้ บางที จำไม่ได้ และ เราเอง ก็ไม่รู้ว่า เมื่อคืน เราฝันหรือเปล่า … แต่ ด้วยเทคโนโลยี ปัจจุบัน เราสามารถรู้ได้ครับ
-คนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน คุ้นเคยกับ นาฬิกาข้อมือสุขภาพ ซึ่ง สามารถนับก้าวการเดิน ตูชีพจร ดูอุณหภูมิ และ ที่ดูกันบ่อยมาก คือดูการนอนหลับ … เชื่อว่า ผู้ใช้ ส่วนใหญ่ เวลา ดู กราฟ การนอนหลับ ก็ดูแค่ว่า หลับกี่ชั่วโมง หลับลึกไหม เพราะ หลับลึก เพียงพอ มักจะสดชื่น เวลา ตื่น … แต่ในความเป็นจริง สามารถดูเรื่อง การฝันได้ด้วยครับ (ไม่ใช่ทำนายฝันนะครับ)
-สิ่งที่แสดงใน กราฟ การนอนหลับ คือ ระดับความลึกของการนอนหลับ มี 3 ระดับ + อีก 1 ระดับคือ ตื่น… ในภาวะหลับลึก สมองจะทำงานน้อยมาก รองลงมาคือ หลับตื้น และ ที่น้อยที่สุด คือ หลับ REM (rapid eye movement) เป็นการหลับ ที่เราไม่รู้สึกตัว แต่สมองจะทำงานอยู่ตลอดเวลา(ฝัน) หากเราสังเกต คนที่นอนหลับ หนังตาปิดอยู่ แต่ ลูกตากลอกไปๆมาๆ อย่างรวดเร็ว เราจึงเรียกสภาวะนี้ว่า REM
-ถ้าหาก เราตื่นขึ้นมารู้สึกตัว ตอนที่ อยู่ในระดับ REM เราจะจำสิ่งที่ฝันได้ (จำสิ่งที่สมองกำลังทำงานอยู่ได้) แต่ถ้า เราตื่นขึ้นมาจาก การหลับลึก หรือ หลับตื้น ช่วงนั้น สมองไม่ได้ทำงาน เราจะไม่รู้สึกว่า กำลังฝัน
-ในแต่ละคืน สมองเราจะเอา สิ่งที่พบเจอในแต่ละวันไปทบทวน และ ทำงาน สลับกับพักผ่อนด้วยการหลับลึก ซึ่ง ถ้า ช่วงเวลา REM มีมาก ก็แสดงว่า สมองทำงานมาก ซึ่ง การทำงานภายใต้ สภาวะที่ไม่ได้รับข้อมูลจากภายนอก จะเป็นช่วงที่ จับแพะชนแกะ นำเอาข้อมูลจาก สารพัดแหล่ง มาปะติดปะต่อกัน โดยไม่วางอยู่บนสิ่งที่เกิดขึ้นจริง จึงกลายเป็น “ฝัน”
Reference: Yiwen Li, et al. Diabetic vascular diseases: molecular mechanisms and therapeutic strategies. Signal Transduction and Targeted Therapy (2023) 8:152