-เมื่อเราได้ยินคนพูดว่า เป็นโรคไทรอยด์ มักจะมีคำถามจากเพื่อนๆต่อว่า เป็นพิษ หรือเปล่า … มันต่างกันยังไงครับ และ รักษาต่างกันไหม
-ทั้งไทรอยด์เป็นพิษ และ ไม่เป็นพิษ ล้วนเป็นโรคของต่อมไทรอยด์ทั้งคู่ครับ เป็นความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่อยู่บริเวณด้านหน้าลำคอ ซึ่ง เมื่อผิดปกติ ต่อมไทรอยด์มักจะโตขึ้น ซึ่ง อาจจะโตทั่วๆทั้งต่อม หรือ โตเป็นก้อน เป็นหย่อม หรือหลายก้อนหย่อม …ส่วนเรื่องไทรอยด์เป็นพิษหรือไม่ ไม่เกี่ยวข้องกับลักษณะของไทรอยด์ที่โต ว่าโตแบบไหน แต่ เกี่ยวกับการทำงานของต่อมไทรอยด์ ว่า มีฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติหรือไม่ … ถ้ามีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาในกระแสเลือดมากกว่าปกติ เรียกว่า ไทรอยด์เป็นพิษครับ
-ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ที่เราตรวจในเลือด จะถูกควบคุมแบบอัตโนมัติ ให้พอดีๆ ไม่มาก หรือ น้อยเกินไป กลไกการควบคุมอยู่ที่ต่อมใต้สมอง หากพบว่า ฮอร์โมนมากไป จะกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนเพิ่มขึ้นจนปกติ แต่ถ้าฮอร์โมนเพียงพอ หรือ เริ่มมากเกินไปแล้ว จะหยุดกระตุ้น ต่อมไทรอยด์ ก็จะหยุดทำงาน (ใช้แต่ฮอร์โมนเดิมที่ยังคงมีอยู่ในกระแสเลือด (ปกติ ฮอร์โมนที่ผลิตแล้ว เมื่อถูกใช้ไป จะลดปริมาณ ลง ครึ่งหนึ่ง ทุกๆ 1 สัปดาห์ …ถ้าขาด จะถูกบอกให้ผลิดเพิ่ม ถ้าพอแล้ว จะหยุดกระตุ้น เป็นสมดุล แบบนี้ ไปเรื่อยๆครับ
-ถ้ากลไกการปรับระดับฮอร์โมนไทรอยด์เป็นปกติ ตามที่แจ้งไว้ข้างต้น จะไม่เกิดภาวะ ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน หรือ ไทรอยด์เป็นพิษ เลยครับ … แต่คนที่ไทรอยด์เป็นพิษ จะเกิดจาก ต่อมไทรอยด์อักเสบ หรือ โรคที่เกี่ยวกับ ภูมิแพ้ ของต่อมไทรอยด์ ซึ่งทั้ง 2 ภาวะจะทำให้ต่อมไทรอยด์ อักเสบ มีการบวม และมีเลือดมาเลี้ยงต่อมไทรอยด์มากขึ้น และ ผลักดันให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ มากขึ้น หรือ ออกมาในกระแสเลือดมากปกติ เกิดจากผลของฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ตาโปน มือสั่น น้ำหนักลด เหงื่อออกง่าย ผิวชื้น ถ่ายอุจจาระบ่อย ฯลฯ หากอาการสงสัยไทรอยด์เป็นพิษ แพทย์จะเจาะเลือดตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ และรักษาด้วยการกินยาต้านฮอร์โมนไทรอยด์ เพื่อรอให้โรคสงบ (ปกติมักจะดีขึ้นใน 2 ปี) แล้วค่อยๆ ลดยาลง จนหยุดยาได้ในที่สุด
-ส่วนไทรอยด์ที่ไม่อยู่ในกลุ่มนี้ จะเป็น คอพอก เนื้องอก หรือ มะเร็ง เซลล์ของต่อมไทรอยด์ทำงานอยู่ในระดับปกติ ไม่มากเกินไป จึง ไม่มีลักษณะของไทรอยด์เป็นพิษครับ … ไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์ครับ