เจ็บตรงนี้ ทำไมหมอ ไม่ปักเข็มตรงนี้

-ช่วงที่ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เดินเท้าไปยังชนบทห่างไกลที่รถเข้าถึงลำบาก ในอำเภออมก๋อย มีชาวบ้านที่เจ็บป่วยและมารับบริการมากมาย นอกจากปัญหาสุขภาพฟัน และ อาการเป็นหวัดในเด็กแล้ว อีกหนึ่งปัญหาที่พบบ่อยคือ เรื่องของ อาการปวด เข่า ปวดเอว ปวดคอบ่าไหล่… ซึ่ง แต่ละคน ก็ได้ยาแก้ปวด ยานวดคลายเส้น แต่สิ่งหนึ่ง ที่ชาวบ้าน นิยมมาก คือ การฝังเข็ม… ในรอบการออกหน่วย 5 วันนี้ 6 หมู่บ้าน ใช้เข็มฝังไปทั้งหมด 800 เล่ม กับคนไข้ที่ได้รับการฝังเข็ม เกือบ 200 คน หรือ ประมาณ 1 ใน 5 ถึง 1 ใน หก ของผู้รับบริการ

กิจกรรมฝังเข็ม ได้รับการบอกต่อจากชาวบ้าน ว่าได้ผลดี ไม่ยุ่งยาก ทำเสร็จหายเลย เหมือนเวลาได้รับการฉีดยาแก้ปวด แต่ผล เฉพาะที่ดีกว่า จึงมีการบอกกัน ปากต่อปาก … หลายคน กลับไปถึงบ้าน ยังกลับมาใหม่ขอ ฝังเข็ม และ หลายคนมาถึง ก็บอกว่า ขอฝังเข็ม ส่วนการรับยา เป็นเรื่องรอง

-ในรอบนี้ มีคนที่ไหล่ติด ยกหัวไหล่ไม่ได้มาเป็นเดือน พอฝังเข็มเสร็จก็ยกไหล่ ยกแขนได้ (ไม่ใช่ทุกรายที่จะฝังเข็มแล้วหายแบบนี้นะครับ ในรายที่เป็นเรื้อรัง อาจจะยากมาก) ตอนเย็นช่วงที่กำลังกินข้าว กัน ก็มีขาวบ้าน เดินเข้ามา 2 คน บอกว่า ปวดแขน คนหนึ่งปวดที่ข้อมือ อีกคนหนึ่ง ปวดที่ข้อศอก มาขอฝังเข็มอย่างเดียว ไม่ต้องรับยาก็ได้ (เพราะ ยาเก็บหมดแล้ว) ผม เลย จัดให้ ทำการฝังเข็มให้กับผู้ป่วยทั้งคู่ … ในระหว่างการฝังเข็มนั้น ผู้ป่วย ก็พยายาม ชี้ให้ดูว่า หมอๆ มันปวดตรงนี้  ขณะที่ผม ฝังเข็ม ที่อีกจุดหนึ่ง ไม่ได้ปักตรงที่ปวด …. คนส่วนใหญ่ หรือแม้แต่คนไข้ทั้ง 2 คนนี้ มักจะคิดว่า การฝังเข็ม ปวดตรงไหน ให้ปักเข็มตรงนั้น … ซึ่งบางกรณีก็เป็นจริง เพราะ จุดที่ปวด กับ สาเหตุ ของ กล้ามเนื้อที่ตึงและเกร็งอยู่ที่เดียวกัน แต่บางกรณี ก็ไม่ใช่เช่นนั้น อย่างเช่น กรณี ปวดข้อมือที่ว่า ต้นเหตุ เกิดจากการเกร็ง หรือ เป็นตะคริว ของกล้ามเนื้อ ที่ใช้กระดกข้อมือ ดังนั้น การฝังเข็มที่ข้อมือ จึงไม่ใช่การรักษาที่ต้นเหตุ ผมฝังเข็มในจุดที่ใกล้ข้อศอก ซึ่ง เป็นจุดตั้งต้นของกล้ามเนื้อมัดนั้น และให้ผู้ป่วยกระดกข้อมือไปมา อาการปวดก็หายไป ขนาด ให้นั่งรอให้กล้ามเนื้อคลายตัวเข้าที่สักพัก (ปกติ 20 นาที) แต่ผู้ป่วยบอกว่าหายแล้ว ขอให้เอาเข็มออก จะกลับไปกินข้าวที่บ้าน … 555

-เล่าเรื่องนี้ให้ฟัง เพราะว่า ในการรักษาโรค หรือ การแก้ไขปัญหา ไม่ใช่ว่า ปวดที่ไหน ปักเข็มที่นั่น เจอปัญหาที่ไหน ออกแรง จัดการที่นั่น .. บางครั้ง สาเหตุมาจากที่อื่น เราจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ สร้างถึง กลไก (กายวิภาค และ สรีรวิทยา) ของอาการปวดนั้น หรือของปัญหา นั้น และ แก้ไข ให้ถูกจุด จะได้ไม่เหนื่อย และได้ผล โดยใช้กำลัง หรือ พลังเพียงเล็กน้อย แต่ได้ผลเยอะ … เป็นการมองภาพให้กว้าง แต่ก็ต้องมองอย่างละเอียด มองให้เห็น ความเชื่อมโยง และ สัมพันธ์กันครับ

-เรื่องทุกเรื่อง อยู่ใต้กฏเกณฑ์ของธรรมชาติ เราสามารถนำความรู้ ข้ามศาสคร์กันได้ครับ


เจ็บตรงนี้ ทำไมหมอ ไม่ปักเข็มตรงนี้