-มีบทความทางวิชาการ รายงานเกี่ยวกับ การฟุ้งกระจายของละออง จากการชักโครก ทำให้ตรวจพบ เชื้อโรค(แบคทีเรีย)ตามฝาผนังห้องน้ำ มากกว่าหากไม่ปิดผาโถส้วมก่อนชักโครก จึงเป็นคำแนะนำ และ ความเชื่อว่า ควรจะปิดฝาโถส้วมก่อนทำการชักโครกเพื่อสุขอนามัยที่ดี
-ในช่วง Covid19 มีความกังวล เรื่อง การแพร่กระจายเชื้อโรค โดยเฉพาะ เชื้อไวรัสซึ่งมีขนาดเล็กและ อาจจะแพร่กระจายได้ไกลกว่าเชื้อแบคทีเรีย จึงได้มีการศึกษา ประเด็นการแพร่กระจายเชื้อจากการกดน้ำเวลาชักโครก ว่าการปิดฝาโถชักโครก กับการไม่ปิดฝา ก่อนทำการชักโครก จะทำให้มีการแพร่เชื้อโรคต่างกันไหม
-ในการศึกษานี้ ทำการเก็บตัวอย่างจากบริเวณต่างๆ ทั้งที่ฝาปิดโถด้านบนด้านล่าง ที่นั่งทั้งบนและใต้ที่นั่ง น้ำในโถ พื้นห้องตำแหน่งที่ใกล้กับที่นั่งโถ ด้านหน้า ด้านข้าง และ ฝาผนัง (ในกรณีที่โถอยู่ชิดกับผนังห้อง) … ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณเชื้อทั้งไวรัสและแบคทีเรีย ที่ตำแหน่งน้ำในโถ และใต้ฝาปิด มีปริมาณเชื้อเท่ากัน ส่วนบริเวณอื่นๆ แตกต่างกันไม่มาก ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ถึงแม้ว่า อาจจะมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เช่น เวลาเปิดฝาไว้ พบเชื้อบริเวณผนังใกล้กับโถ และพื้นห้องด้านที่ใกล้กับผนัง มีเชื้อมากกว่าเวลาปิดฝา … ขณะที่ บริเวณโถที่นั่ง ทั้งด้านบนด้านล่าง และ พื้นห้องด้านหน้าโถ และ ด้านที่อยู่ห่างจากฝาผนัง จะพบเชื้อโรคมากกว่า หากปิดฝาโถชักโครกไว้…. อย่างไรก็ดี ความแตกต่างนี้ ต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
-มีการศึกษา การใช้โถที่บ้าน และ โถในห้องน้ำสาธารณะ พบว่า การแพร่เชื้อในห้องน้ำสาธารณะ มากกว่า ซึ่งอาจจะเป็นเพราะในห้องน้ำสาธารณะ ใช้น้ำที่แรงกว่าโถชักโครกที่ใช้ตามบ้าน
-สิ่งที่ได้จากการศึกษานี้ ชัดเจน คือ การทำความสะอาดห้องน้ำโดยใช้แปรงขัด โดยใช้น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ และ ใช้น้ำเปล่าๆ พบว่า ใช้น้ำยาทำความสะอาด พบเชื้อน้อยกว่ามากๆ … โดยพบเชื้อโรคที่แปรงทำความสะอาดห้องน้ำ ในกรณีที่ไม่ได้ใช้น้ำยาทำความสะอาดมากกว่า ซึ่งแปรงทำความสะอาด อาจจะเป็นการนำเชื้อโรคจากที่หนึ่ง ไปปนเปื้อนที่อื่นๆด้วย
-สรุปว่า เวลาชักโครก ปิดฝาโถ ก่อนชักโครก ไม่ทำให้มีการแพร่ของเชื้อโรคมากขึ้นนะครับ